วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การ์ตูนตลก



นิวยอร์กเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็น3เท่าได้สำเร็จ


Michael Bloomberg นายกเทศมนตรีรัฐนิวยอร์ก เปิดเผยว่า รัฐนิวยอร์กสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็น 648 กิโลวัตต์ ได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็น 3 เท่าจากเดิมที่มีการสำรวจก่อนหน้านี้ จากการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับอาคารต่างๆ เช่น สถานีตำรวจ 3 แห่ง โรงเรียนอีก 2 แห่ง รวมถึงสถานีดับเพลิงและสถานีอนามัย รวมเป็นจำนวน 10 อาคารทั่วรัฐ

นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับรัฐนิวยอร์ก ในการดำเนินแผนการเพื่อลดมลพิษ โครงการดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 205 เมตริกตัน และยังช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในรัฐได้ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 960 ล้านบาท โครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการจำนวน 143 โครงการเพื่อพัฒนารัฐในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา และยังมีอีก 99 โครงการที่เจ้าหน้าที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวไม่ได้เป็นที่พึงพอใจแก่ทุกๆ คน หลังจากที่นาย Scott Stringer ผู้นำสภาเมือง Manhattan หนึ่งในเมืองภายในรัฐนิวยอร์ก ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นาย Bloomberg อย่างรุนแรง โดยระบุว่า รัฐนิวยอร์ก น่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่านี้ และอ้างถึงรายงานที่ได้เปิดเผยเมื่อวันที่  27 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า เขาต้องการให้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาสถานศึกษาทุกแห่งทั่วรัฐนิวยอร์ก

ในขณะเดียวกัน นาย Stringer ได้กล่าวว่า "การที่ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในรัฐนิวยอร์ก ในช่วง 6 ปี ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เมื่อพิจารณาคำแถลงของนายกเทศมนตรีแล้วเทียบกับ การดำเนินการของรัฐใกล้เคียงอย่างรัฐ นิวเจอร์ซีย์แล้ว รัฐดังกล่าวสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 440 เมกะวัตต์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปัจจุบัน รัฐนิวยอร์กได้ประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขึ้นมาอยู่ในระดับเพียงแค่ 8 เมกะวัตต์ เท่านั้น
http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=107&cno=3189

ผลวิจัยชี้ บริโภคอาหาร-เหลือทิ้งให้น้อยลง ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้


ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและยุโรป ระบุว่าการลดการบริโภคและการเหลืออาหารทิ้งโดยไม่จำเป็นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศได้...

ดร.ดาวิด รอย อาจารย์ภาคธรณีศาสตร์ ผู้นำการวิจัยระบุว่างานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อหาปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการบริโภคอาหารในแต่ละพื้นที่ของโลก ได้ผลสรุปว่าการบริโภคอาหารน้อยลงและการเหลืออาหารทิ้งหรือเน่าเสียน้อยลงเป็นจุดสำคัญในการลดค่าก๊าซเรือนกระจกในขณะที่ประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างเช่น

หากเราลดการบริโภคเนื้อไก่ต่อปีลงครึ่งหนึ่ง จาก 25.8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อย่างที่สหราชอาณาจักรและประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่งเป็นอยู่ให้เหลือเพียง 11.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเหมือนญี่ปุ่นเป็นอยู่ จะมีผลในการลดก๊าซเรือนกระจกเท่าๆ กับการนำรถยนต์นับสิบล้านคันออกไปจากท้องถนน ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งมีปริมาณมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 300 เท่า ลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่ในแต่ละปี สหราชอาณาจักรจะมีผลิตภัณฑ์จากนมเน่าเสียมากกว่า 360,000ตัน ซึ่งจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเอดินบะระร่วมกับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ในยุโรป พบว่า นมเน่าเสียปริมาณดังกล่าว จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากถึง 100,000 ตัน เทียบเท่ากับปริมาณไอเสียจากรถยนต์ถึง 20,000 คัน ทีเดียว
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1118&catid=69&Itemid=51



ฮอนด้าเปิดสถานีเติมพลังงานไฮโดรเจนแห่งใหม่ที่ญี่ปุ่น


 ฮอนด้า บริษัทผู้ผลิตยานพาหนะชื่อดัง ได้เปิดสถานีผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากแสงอาทิตย์แห่งใหม่ที่เมือง ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประชาชนที่ใช้รถพลังงานสะอาด
ในสมัยก่อน สถานีพลังงานไฮโดรเจนต้องมีการขนส่งก๊าซไฮโดรเจนมาจากโรงงานที่ผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติ แต่ฮอนด้าได้มีการคิดค้นเครื่องมือรับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำให้แปรสภาพเป็นไฮโดรเจนได้สำเร็จวิธีนี้จะสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 1.5 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเพียงพอสำหรับรถพลังงานไฮโดรเจนของ ฮอนด้า รุ่น FCX Clarity เดินทางได้ 90 ไมล์ แม้ว่าสถานีดังกล่าวจะผลิตไฮโดรเจนได้ค่อนข้างน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้รถไฮโดรเจนทั่วประเทศ ที่หาสถานีเติมเชื้อเพลิงได้ค่อนข้างยาก
http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=107&cno=3193

ผลการวิจัยพบการละลายของธารน้ำแข๊งปล่อยก๊าซมีเทน



ผลการวิจัยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงค์ส พบว่า การละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) ทำให้ก๊าซมีเทนรั่ว นอกจากนี้การละลายของธารน้ำแข็งยังมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ผลการวิจัยชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์วารสารเนเจอร์ จีโอไซเอินซ (Nature Geoscience) นับได้ว่าเป็นการศึกษาวิจัยชิ้นแรกที่ยืนยันว่าการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวทำให้ก๊าซมีเทนรั่ว ส่วนการละลายของธารน้ำแข็งมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ  นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกาแฟร์แบงค์ส กล่าวว่า การปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศกำลังกลายเป็นปัญหาเนื่องจากก๊าซชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ให้ผลแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยสามารถกักเก็บความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 20 เท่า การรั่วของแก๊สมีเทนมีที่มาจากหลายแหล่งอาทิ ชั้นถ่านหินและแก๊สธรรมชาติใต้ทะเลสาบทั้งนี้ก๊าซมีเทนนี้แตกต่างจากแก๊สมีเทนที่ปล่อยจากซากอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ใต้ทะเลสาบหลายแห่งในรัฐอะแลสกา วอลเตอร์ แอนโทนี
  นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงค์ส กล่าวว่า มันเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปปริมาณแก๊สมีเทนที่รั่วจากใต้ทะเลสาบ ทั้งนี้ นักวิจัยได้ยืนยันว่า ก๊าซมีเทนถูกปล่อยมาจาก 2 แหล่ง ในรัฐอะแลสกา โดยมาจากทะเลสาบ 50 แห่งทางตอนเหนือของรัฐ และตามขอบธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของรัฐ ส่วนที่กรีนแลนด์ นักวิทยาศาสตร์พบก๊าซมีเทนรั่วจากพื้นที่ที่แผ่นน้ำแข็งละลายลง กว่า 150 ปีที่ผ่านมาทะเลสาบแห่งแรกที่พบว่าก๊าซมีเทนมีผลต่อการเยือกแข็ง คือ ทะเลสาบที่อยู่ติดกับหมู่บ้านชนพื้นเมืองอินูอิต เมืองแอทตาซัคทางตอนเหนือของรัฐอะแลสกา โดยคนในท้องถิ่นทราบมานานแล้วว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณชั้นถ่านหิน
http://www.energysavingmedia.com/news

สื่่อเมืองผู้ดีรายงาน ไดเอ็ดช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้


สื่อในประเทศอังกฤษได้รายงานว่า หากประชาชนทุกคนหันมาเน้นบริโภคผักและผลไม้มากขึ้นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นจำนวนมาก จากปริมาณการผลิต การประกอบอาหารและการขนส่งที่ลดลง 
จากการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบริษัทผลิตอาหาร 61แห่งช่วยให้ ศาสตราจารย์ Nick Hewitt แห่งมหาวิทยาลัย Lancaster และ Mike Berners-Lee ผู้เขียนรายงานนี้ พบว่า การลดปริมาณอาหารที่บริโภค จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จากการสำรวจโดยการเปรียบเทียบปริมาณอาหารที่ประชาชนบริโภคและปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศอังกฤษ ซึ่งสูงถึง 167ตันต่อปี ซึ่งผลปรากฏว่าหากประชาชนหันมารับประทานผักและผลไม้แทนที่อาหารที่รับประทานอยู่ในปัจจุบัน จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 22 - 26%

จำนวนการนำเข้าผักและเห็ดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง รวมถึงต้นทุนในการให้ความร้อนต่อเรือนกระจกในทางตรงกันข้าม ผักและผลไม้ที่ปลูกด้วยอุณหภูมิตามธรรมชาติ ซึ่งถูกนำเข้ามายังประเทศอังกฤษทางเรือด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในจำนวนน้อย ขั้นตอนการผลิตการทำอาหารจากเนื้อสด มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 11กิโลกรัมต่อ เนื้อ 1 กิโลกรัม และเบคอน จะมีอัตราการปล่อยอยู่ที่ 9 กิโลกรัม ส่วนไวน์นั้น จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 2 กิโลกรัม ต่อ ไวน์ 1 กิโลกรัม ในขณะที่การผลิตอาหารอื่นๆเช่น ซีเรียล นม หรือ ขนมปัง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง 2 กิโลกรัม

ศาสตราจารย์ Nick Hewitt กล่าวว่าก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก การผลิตอาหารโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง การไดเอ็ตหรือ ควบคุมการรับประทานอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการลดก๊าซเรือนกระจกบนชั้นบรรยากาศได้เป็นจำนวนมาก
http://www.energysavingmedia.com/news

อากาศเลวร้ายทำ 3 นักปีนเขาสังเวยชีวิตบนยอดเอเวอเรสต์



พบนักปีนเขาเสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และสูญหายอีก 2 คน บริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ยอดเขาที่สูงที่สุดของโลกในประเทศเนปาล เมื่อช่วงสุดสัปดาห์...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 22 พ.ค.ว่า พบนักปีนเขาเสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และสูญหายอีก 2 คน บริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดของโลกในประเทศเนปาล เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา...รายงานข่าวซึ่งอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของทางการเนปาลเมื่อวันจันทร์ (21 พ.ค.) ระบุว่า นักปีนเขาที่เสียชีวิตและสูญหายกลุ่มดังกล่าว ประสบชะตากรรมขณะกำลังเดินทางกลับลงมาจากยอดเอเวอเรสต์  เบื้องต้นคาดว่าสภาพอากาศที่เลวร้ายเป็นสาเหตุ

กยาเนนทรา ชเรสธา เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านความปลอดภัยในพื้นที่ภูเขาของรัฐบาลเนปาลเปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์และเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาสภาพอากาศบริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ยังคงเปิดและสดใส แต่พอถึงช่วงบ่ายของวันเสาร์กลับเริ่มมีกระแสลมแรงและพายุ ซึ่งคาดว่าในช่วงสองวันดังกล่าวจะมีนักปีนเขาจากทั่วโลกสามารถปีนขึ้นไปถึงส่วนบนสุดของเอเวอเรสต์ได้กว่า 150คน... เบื้องต้นคาดว่า นักปีนเขา 3 ราย เสียชีวิตตั้งแต่วันเสาร์จากอาการเหนื่อยอ่อนและอาการป่วยขณะอยู่ในที่สูง โดยพบข้อมูลว่า ทั้งสามเป็นชาวเยอรมัน แคนาดาและเกาหลีใต้ ส่วนอีก 2รายที่ยังคงสูญหายเป็นนักปีนเขาจากจีน และไกด์นำทางชนเผ่าเชอร์ปา...ทั้งนี้ เมื่อเดือน พ.ค. ปี ค.ศ.1996 มีรายงานว่า พบนักปีนเขาถึง 8 รายเสียชีวิตบนยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยสาเหตุเกิดจากพายุหิมะและอากาศที่เลวร้ายเช่นกัน
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1119&catid=69&Itemid=51