วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การ์ตูนตลก



นิวยอร์กเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็น3เท่าได้สำเร็จ


Michael Bloomberg นายกเทศมนตรีรัฐนิวยอร์ก เปิดเผยว่า รัฐนิวยอร์กสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็น 648 กิโลวัตต์ ได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็น 3 เท่าจากเดิมที่มีการสำรวจก่อนหน้านี้ จากการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับอาคารต่างๆ เช่น สถานีตำรวจ 3 แห่ง โรงเรียนอีก 2 แห่ง รวมถึงสถานีดับเพลิงและสถานีอนามัย รวมเป็นจำนวน 10 อาคารทั่วรัฐ

นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับรัฐนิวยอร์ก ในการดำเนินแผนการเพื่อลดมลพิษ โครงการดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 205 เมตริกตัน และยังช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในรัฐได้ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 960 ล้านบาท โครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการจำนวน 143 โครงการเพื่อพัฒนารัฐในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา และยังมีอีก 99 โครงการที่เจ้าหน้าที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวไม่ได้เป็นที่พึงพอใจแก่ทุกๆ คน หลังจากที่นาย Scott Stringer ผู้นำสภาเมือง Manhattan หนึ่งในเมืองภายในรัฐนิวยอร์ก ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นาย Bloomberg อย่างรุนแรง โดยระบุว่า รัฐนิวยอร์ก น่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่านี้ และอ้างถึงรายงานที่ได้เปิดเผยเมื่อวันที่  27 มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า เขาต้องการให้มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาสถานศึกษาทุกแห่งทั่วรัฐนิวยอร์ก

ในขณะเดียวกัน นาย Stringer ได้กล่าวว่า "การที่ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในรัฐนิวยอร์ก ในช่วง 6 ปี ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่เมื่อพิจารณาคำแถลงของนายกเทศมนตรีแล้วเทียบกับ การดำเนินการของรัฐใกล้เคียงอย่างรัฐ นิวเจอร์ซีย์แล้ว รัฐดังกล่าวสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 440 เมกะวัตต์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ปัจจุบัน รัฐนิวยอร์กได้ประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขึ้นมาอยู่ในระดับเพียงแค่ 8 เมกะวัตต์ เท่านั้น
http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=107&cno=3189

ผลวิจัยชี้ บริโภคอาหาร-เหลือทิ้งให้น้อยลง ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้


ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและยุโรป ระบุว่าการลดการบริโภคและการเหลืออาหารทิ้งโดยไม่จำเป็นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศได้...

ดร.ดาวิด รอย อาจารย์ภาคธรณีศาสตร์ ผู้นำการวิจัยระบุว่างานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อหาปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการบริโภคอาหารในแต่ละพื้นที่ของโลก ได้ผลสรุปว่าการบริโภคอาหารน้อยลงและการเหลืออาหารทิ้งหรือเน่าเสียน้อยลงเป็นจุดสำคัญในการลดค่าก๊าซเรือนกระจกในขณะที่ประชากรโลกกำลังเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างเช่น

หากเราลดการบริโภคเนื้อไก่ต่อปีลงครึ่งหนึ่ง จาก 25.8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อย่างที่สหราชอาณาจักรและประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่งเป็นอยู่ให้เหลือเพียง 11.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเหมือนญี่ปุ่นเป็นอยู่ จะมีผลในการลดก๊าซเรือนกระจกเท่าๆ กับการนำรถยนต์นับสิบล้านคันออกไปจากท้องถนน ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งมีปริมาณมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 300 เท่า ลงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่ในแต่ละปี สหราชอาณาจักรจะมีผลิตภัณฑ์จากนมเน่าเสียมากกว่า 360,000ตัน ซึ่งจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเอดินบะระร่วมกับมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ในยุโรป พบว่า นมเน่าเสียปริมาณดังกล่าว จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มากถึง 100,000 ตัน เทียบเท่ากับปริมาณไอเสียจากรถยนต์ถึง 20,000 คัน ทีเดียว
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1118&catid=69&Itemid=51



ฮอนด้าเปิดสถานีเติมพลังงานไฮโดรเจนแห่งใหม่ที่ญี่ปุ่น


 ฮอนด้า บริษัทผู้ผลิตยานพาหนะชื่อดัง ได้เปิดสถานีผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากแสงอาทิตย์แห่งใหม่ที่เมือง ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประชาชนที่ใช้รถพลังงานสะอาด
ในสมัยก่อน สถานีพลังงานไฮโดรเจนต้องมีการขนส่งก๊าซไฮโดรเจนมาจากโรงงานที่ผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติ แต่ฮอนด้าได้มีการคิดค้นเครื่องมือรับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำให้แปรสภาพเป็นไฮโดรเจนได้สำเร็จวิธีนี้จะสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 1.5 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเพียงพอสำหรับรถพลังงานไฮโดรเจนของ ฮอนด้า รุ่น FCX Clarity เดินทางได้ 90 ไมล์ แม้ว่าสถานีดังกล่าวจะผลิตไฮโดรเจนได้ค่อนข้างน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้รถไฮโดรเจนทั่วประเทศ ที่หาสถานีเติมเชื้อเพลิงได้ค่อนข้างยาก
http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=107&cno=3193

ผลการวิจัยพบการละลายของธารน้ำแข๊งปล่อยก๊าซมีเทน



ผลการวิจัยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงค์ส พบว่า การละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) ทำให้ก๊าซมีเทนรั่ว นอกจากนี้การละลายของธารน้ำแข็งยังมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ผลการวิจัยชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์วารสารเนเจอร์ จีโอไซเอินซ (Nature Geoscience) นับได้ว่าเป็นการศึกษาวิจัยชิ้นแรกที่ยืนยันว่าการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวทำให้ก๊าซมีเทนรั่ว ส่วนการละลายของธารน้ำแข็งมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ  นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกาแฟร์แบงค์ส กล่าวว่า การปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศกำลังกลายเป็นปัญหาเนื่องจากก๊าซชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ให้ผลแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยสามารถกักเก็บความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 20 เท่า การรั่วของแก๊สมีเทนมีที่มาจากหลายแหล่งอาทิ ชั้นถ่านหินและแก๊สธรรมชาติใต้ทะเลสาบทั้งนี้ก๊าซมีเทนนี้แตกต่างจากแก๊สมีเทนที่ปล่อยจากซากอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ใต้ทะเลสาบหลายแห่งในรัฐอะแลสกา วอลเตอร์ แอนโทนี
  นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงค์ส กล่าวว่า มันเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปปริมาณแก๊สมีเทนที่รั่วจากใต้ทะเลสาบ ทั้งนี้ นักวิจัยได้ยืนยันว่า ก๊าซมีเทนถูกปล่อยมาจาก 2 แหล่ง ในรัฐอะแลสกา โดยมาจากทะเลสาบ 50 แห่งทางตอนเหนือของรัฐ และตามขอบธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของรัฐ ส่วนที่กรีนแลนด์ นักวิทยาศาสตร์พบก๊าซมีเทนรั่วจากพื้นที่ที่แผ่นน้ำแข็งละลายลง กว่า 150 ปีที่ผ่านมาทะเลสาบแห่งแรกที่พบว่าก๊าซมีเทนมีผลต่อการเยือกแข็ง คือ ทะเลสาบที่อยู่ติดกับหมู่บ้านชนพื้นเมืองอินูอิต เมืองแอทตาซัคทางตอนเหนือของรัฐอะแลสกา โดยคนในท้องถิ่นทราบมานานแล้วว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณชั้นถ่านหิน
http://www.energysavingmedia.com/news

สื่่อเมืองผู้ดีรายงาน ไดเอ็ดช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้


สื่อในประเทศอังกฤษได้รายงานว่า หากประชาชนทุกคนหันมาเน้นบริโภคผักและผลไม้มากขึ้นจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นจำนวนมาก จากปริมาณการผลิต การประกอบอาหารและการขนส่งที่ลดลง 
จากการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบริษัทผลิตอาหาร 61แห่งช่วยให้ ศาสตราจารย์ Nick Hewitt แห่งมหาวิทยาลัย Lancaster และ Mike Berners-Lee ผู้เขียนรายงานนี้ พบว่า การลดปริมาณอาหารที่บริโภค จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จากการสำรวจโดยการเปรียบเทียบปริมาณอาหารที่ประชาชนบริโภคและปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศอังกฤษ ซึ่งสูงถึง 167ตันต่อปี ซึ่งผลปรากฏว่าหากประชาชนหันมารับประทานผักและผลไม้แทนที่อาหารที่รับประทานอยู่ในปัจจุบัน จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 22 - 26%

จำนวนการนำเข้าผักและเห็ดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง รวมถึงต้นทุนในการให้ความร้อนต่อเรือนกระจกในทางตรงกันข้าม ผักและผลไม้ที่ปลูกด้วยอุณหภูมิตามธรรมชาติ ซึ่งถูกนำเข้ามายังประเทศอังกฤษทางเรือด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในจำนวนน้อย ขั้นตอนการผลิตการทำอาหารจากเนื้อสด มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 11กิโลกรัมต่อ เนื้อ 1 กิโลกรัม และเบคอน จะมีอัตราการปล่อยอยู่ที่ 9 กิโลกรัม ส่วนไวน์นั้น จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 2 กิโลกรัม ต่อ ไวน์ 1 กิโลกรัม ในขณะที่การผลิตอาหารอื่นๆเช่น ซีเรียล นม หรือ ขนมปัง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง 2 กิโลกรัม

ศาสตราจารย์ Nick Hewitt กล่าวว่าก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก การผลิตอาหารโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง การไดเอ็ตหรือ ควบคุมการรับประทานอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการลดก๊าซเรือนกระจกบนชั้นบรรยากาศได้เป็นจำนวนมาก
http://www.energysavingmedia.com/news

อากาศเลวร้ายทำ 3 นักปีนเขาสังเวยชีวิตบนยอดเอเวอเรสต์



พบนักปีนเขาเสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และสูญหายอีก 2 คน บริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ยอดเขาที่สูงที่สุดของโลกในประเทศเนปาล เมื่อช่วงสุดสัปดาห์...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 22 พ.ค.ว่า พบนักปีนเขาเสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย และสูญหายอีก 2 คน บริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดของโลกในประเทศเนปาล เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา...รายงานข่าวซึ่งอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของทางการเนปาลเมื่อวันจันทร์ (21 พ.ค.) ระบุว่า นักปีนเขาที่เสียชีวิตและสูญหายกลุ่มดังกล่าว ประสบชะตากรรมขณะกำลังเดินทางกลับลงมาจากยอดเอเวอเรสต์  เบื้องต้นคาดว่าสภาพอากาศที่เลวร้ายเป็นสาเหตุ

กยาเนนทรา ชเรสธา เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านความปลอดภัยในพื้นที่ภูเขาของรัฐบาลเนปาลเปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์และเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมาสภาพอากาศบริเวณยอดเขาเอเวอเรสต์ยังคงเปิดและสดใส แต่พอถึงช่วงบ่ายของวันเสาร์กลับเริ่มมีกระแสลมแรงและพายุ ซึ่งคาดว่าในช่วงสองวันดังกล่าวจะมีนักปีนเขาจากทั่วโลกสามารถปีนขึ้นไปถึงส่วนบนสุดของเอเวอเรสต์ได้กว่า 150คน... เบื้องต้นคาดว่า นักปีนเขา 3 ราย เสียชีวิตตั้งแต่วันเสาร์จากอาการเหนื่อยอ่อนและอาการป่วยขณะอยู่ในที่สูง โดยพบข้อมูลว่า ทั้งสามเป็นชาวเยอรมัน แคนาดาและเกาหลีใต้ ส่วนอีก 2รายที่ยังคงสูญหายเป็นนักปีนเขาจากจีน และไกด์นำทางชนเผ่าเชอร์ปา...ทั้งนี้ เมื่อเดือน พ.ค. ปี ค.ศ.1996 มีรายงานว่า พบนักปีนเขาถึง 8 รายเสียชีวิตบนยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยสาเหตุเกิดจากพายุหิมะและอากาศที่เลวร้ายเช่นกัน
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1119&catid=69&Itemid=51

จริงหรือ?ยุคสมัยภัยพิบัติขนาดใหญ่คุกคามเอเชีย


รายงานจากแดนจิงโจ้ ซึ่งวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของภัยพิบัติธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นระบุว่าประเทศจีน อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยประชากรประมาณ 1 ล้านรายที่อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียอาจตกเป็นเหยื่อเหตุการณ์ดังกล่าว
รายงานจากประเทศออสเตรเลียพบว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอาจประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งรุนแรงซึ่งอาจส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 1 ล้านรายเพียงเหตุการณ์เดียว โดยประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และจีน มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว
ขณะที่ เดอะซิดนีย์ มอร์นิง เฮอร์รัลด์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย เท้าความถึงรายงานทางวิทยาศาสตร์โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ระบุว่า ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต เนื่องจากปัญหาการเพิ่มจำนวนของประชากรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหว พายุไซโคลน คลื่นสึนามิและภูเขาไฟระเบิดที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมคาดการณ์ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณแนวรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อาจประสบกับเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 1 ล้านราย นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชากรหลายแสนราย นอกจากนี้อาจเกิดคลื่นสึนามิ น้ำท่วมและพายุไซโคลนในประเทศที่มีพื้นที่ลุ่มต่ำอย่างบังกลาเทศ ทั้งนี้ มหันตภัยซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 หมื่นราย มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในรอบทศวรรษ และส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 1 ล้านราย โดยปัญหาการเพิ่มจำนวนของประชากรการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนอาหารอาจทำให้เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเลวร้ายกว่าเดิม
อลันนา ซิมป์สัน นักธรณีวิทยาชาวออสเตรเลีย ระบุว่าการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวอาศัยข้อมูลย้อนหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อน ในการคาดการณ์ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ประชากรกว่าแสน หรือไม่ก็กว่าล้านราย ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด มักจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากเราเทียบกับพื้นที่บางส่วนในรัฐอะแลสกาซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิดทุกๆ 100 ปี ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่มีประชากรอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวนักขณะที่เหตุการณ์เดียวกันซึ่งมีความถี่คล้ายกันเกิดขึ้นบนเกาะชวาจะส่งผล กระทบอย่างมาก
 http://www.energysavingmedia.com/

การปลูกอ้อยช่วยลดโลกร้อน



"จากผลการวิจัย พบว่า การปลูกอ้อยมีส่วนช่วยให้อุณหภูมิอากาศลดลง มีบทบาทในการหยุดโลกร้อน"

โดยอ้างจากผลการวิจัยของนักวิจัยสถาบันคาเนกีแผนกสิ่งแวดล้อม อ้อยสะท้อนกลับแสงแดดไปยังชั้นบรรยากาศ และลดอุณหภูมิอากาศรอบๆ ด้วยการคายน้ำ นักวิจัยใช้ข้อมูลรูปถ่ายดาวเทียมหลายพันรูปที่ได้จากพื้นที่ 1, 173 ตารางกิโลเมตร ในประเทศบราซิล ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยมากที่สุด เพื่อวัดอุณหภูมิ ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง และอัตราการคายน้ำของอ้อย ผลการวิจัยระบุว่า การขยายตัวของไร่อ้อยในพื้นที่ที่เคยปลูกพืชอย่างอื่นมาก่อนช่วยลดอุณหภูมิในท้องถิ่น นักวิจัยระบุในงานวิจัย ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ ไคลเมท เชนจ์ (Nature Climate Change) ว่า การปลูกอ้อยช่วยลดอุณหภูมิอากาศรอบๆ โดยเฉลี่ยถึง 0.93 องศาเซลเซียส แต่หากหันไปปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์แทนการปลูกพืชพรรณธรรมชาติ จะเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยถึง 1.55 องศาเซลเซียส


"สก๊อต ลอรี" หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่าเราพบว่าการหันไปปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์แทนการปลูกพืชพรรณธรรมชาติส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิในท้องถิ่น  เพราะพืชเหล่านั้นคายน้ำน้อยแต่อ้อยสามารถสะท้อนแสงและคายน้ำเหมือนพืชพรรณธรรมชาติ ทั้งนี้ การปลูกอ้อยส่งผลดีต่อสภาพอากาศหลายด้าน เช่น สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตได้จากอ้อยในยานพาหนะ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปลูกอ้อยยังช่วยลดอุณหภูมิอากาศในท้องถิ่นได้อีกด้วย และเป็นที่ทราบกันดีว่า ชาวบราซิลเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนการใช้น้ำมันเบนซิน ประมาณ 1ใน 4 ของเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์มาจากเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตได้จากอ้อย ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก


ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลายคนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาสมีผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ทั้งนี้เกร็ก เอสเนอร์ ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่าเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการใช้ที่ดินส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพอากาศในท้องถิ่น ซึ่งหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่าสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงก็คงมาจากฝีมือของมนุษย์
http://www.energysavingmedia.com/news
ออสเตรเลียเริ่มเก็บภาษีลดโลกร้อน


รัฐบาลออสเตรเลียเริ่มใช้กฎหมาย เก็บภาษีปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วตั้งแต่วันนี้ ท่ามกลางการเดินขบวนประท้วงของประชาชนนับหมื่นในเมืองซิดนีย์ ขณะที่ฝ่ายค้านจวกจะทำให้ค่าครองชีพสูงและกระทบอุตสาหกรรมในวงกว้าง ประกาศจะยกเลิด หากชนะการเลือกตั้งในปีหน้า รัฐบาลออสเตรเลียของนายกรัฐมนตรีหญิง นางจูเลีย กิลลาร์ด เริ่มบังคับใช้กฎหมายภาษีคาร์บอนแล้ว โดยการเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการหลักของปัญหาภาวะโลกร้อนขึ้นจะบังคับให้บริษัทเอกชน ที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ราว 350บริษัท ต้องจ่ายเงิน 23ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 750 บาท)ต่อก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกมาทุกๆ 1ตัน รัฐบาลคาดหวังว่า การเก็บภาษีนี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในออสเตรเลียได้อย่างน้อยปีละ 159 ล้านตันจนถึงปี 2563 หรือเท่ากับนำรถยนต์ประมาณ 45 ล้านคันออกไปจากท้องถนน
ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุดในโลก เนื่องจากต้องพึ่งพาถ่านหินถึงร้อยละ 80ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การเก็บภาษีคาร์บอนถือเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาล ในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2563 ให้เหลือต่ำกว่าอย่างน้อยร้อยละ 5ของระดับในปี 2543ตามแผนของรัฐบาล ภาษีคาร์บอนจะเก็บในอัตราตายตัว 23ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อ 1 ตันในระยะ 3 ปีแรก หลังจากนั้นจะหันไปใช้แผนขายสิทธิการปล่อยมลภาวะ ด้วยภาษีอัตราลอยตัวตามกลไกลตลาด โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาพื้นฐาน

ประชาชนนับหมื่นคน ออกมาเดินขบวนในเมืองซิดนีย์ เมืองใหญ่สุดของประเทศ เพื่อต่อต้านการจัดเก็บภาษีคาร์บอนของรัฐบาล ขณะที่นายโทนี่ แอบบอตต์ ผู้นำพรรคเสรีนิยม ฝ่ายค้าน กล่าวว่า การเก็บภาษีคาร์บอนจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน จากค่าครองชีพสูงขึ้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในวงกว้าง นายแอบบอตต์ประกาศจะยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ หากพรรคเสรีนิยมได้เป็นรัฐบาล หลังการเลือกตั้งในปีหน้า

วิกิฤต น้ำท่วมปักกิ่งหนักสุดในรอบ 60 ปี


สำนักข่าวซินหัว รายงานว่าฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน ตลอดทั้งวันของวันเสาร์ จนถึงกลางดึก ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 37คน ในจำนวนนี้ 25 คน เสียชีวิตเพราะจมน้ำ ที่เหลือเสียชีวิตจากไฟดูด บ้านเรือนพังถล่ม และฟ้าผ่า

ฝนที่ตกหนักส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ ทางการต้องอพยพประชาชนกว่า 50,000คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย เที่ยวบินกว่า 530เที่ยว ถูกยกเลิก และอีกราว 50 เที่ยว ต้องล่าช้า มีผู้โดยสารติดค้างที่สนามบินกว่า 80,000 คน

มีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ในเขตฟางชานของกรุงปักกิ่ง เกิดฝนตกนาน 14 ชั่วโมง วัดปริมาณได้ถึง 460 มิลลิเมตร มากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติ เมื่อปี 2494 ขณะที่ ปริมาณฝนเฉลี่ยทั่วกรุงปักกิ่ง อยู่ที่ 170 มิลลิเมตร

 http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1143&catid=69&Itemid=51


คาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ


คณะนักวิจัยพบว่าหากได้รับปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เพราะก๊าซพิษนี้มีผลต่อการเต้นของหัวใจ

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์ พบว่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)ทำให้โซเดียมแชแนล (Sodium channel) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเต้นของหัวใจ กล่าวคือโซเดียมแชแนลทำให้กระบวนการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (Resetting process) หลังจากการเต้นของหัวใจ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับโซเดียมแชแนล จึงทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (Cardiac arrhythmias) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้

ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตลำเลียงก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้น้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน จึงเป็นสาเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก อนึ่งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มักปนเปื้อนในอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่เต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้างและในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งก๊าซพิษชนิดนี้เกิดจากควันบุหรี่ และไอเสีย เป็นต้น
http://www.energysavingmedia.com/news

น้ำแข็งอาร์คติกละลายจนน่าวิตก


การละลายตัวของน้ำแข็งในแถบอาร์คติกยังน่าวิตกล่าสุด มีรายงานว่า ทะเลน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์คติกจะหดตัวเหลือขนาดที่เล็กที่สุดเป็นประวัติการณ์ หากสัปดาห์หน้าหากยังมีการละลายตัวของน้ำแข็ง
นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติของสหรัฐฯ เปิดเผยว่าทะเลน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์คติกอาจจะหดตัวเหลือขนาดที่เล็กที่สุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์หน้า และการละลายตัวของน้ำแข็งจะดำเนินต่อไป

ก่อนหน้านี้ ในช่วงฤดูร้อนกิดปรากฎการณ์แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมเขตกรีนแลนด์ละลายตัวอย่างผิดปกติ โดยจากภาพถ่ายของนาซ่าแสดงให้เห็นว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นที่ทางตอนเหนือของเขตกรีนแลนด์ละลายตัวร้อยละ 97 ขณะที่ภูเขาน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองแมนฮัตตันถึง 2 เท่าได้แยกได้ออกจากธารน้ำแข็งปีเตอร์มานน์ (Petermann) ในเขตกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1149&catid=69&Itemid=51


วิกฤตไฟป่าในสเปนยังรุนแรง

สเปนยังคงเผชิญวิกฤตไฟป่ารุนแรงล่าสุดเกิดไฟป่าลุกลามเข้าใกล้กรุงมาดริดประชาชนกว่า2,000คน ต้องอพยพหนีไฟออกจากบ้านเรือน

ไฟป่าลุกไหม้อย่างรุนแรงและลุกลามอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบกับเมืองโรเบิลโด้ เดอ ชาเวล่า, เมืองซานตา มาเรีย เดอ ลา อลาเมด้า และเมืองวัลดีมาคิวด้า ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กรุงมาดริด ประชาชนกว่า 2,000คน ในพื้่นที่เสี่ยงต้องอพยพหนีไฟออกจากบ้านเรือนกันอย่างโกลาหล เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 600 นาย ต้องระดมกำลังเข้าสกัดไม่ให้ลุกลามเข้าไปในย่านชุมชน

ทั้งนี้ สเปนกำลังเผชิญวิกฤตไฟป่าที่รุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี มีไฟป่าเกิดขึ้นมากกว่าเมื่อปีที่แล้วถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แห้งและร้อนกว่าเมื่อปีที่ผ่าน โดยไฟป่าที่เกิดขึ้นในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เผาผลาญพื้นที่ป่าไปแล้วถึง 312,500 ไร่
http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1152&catid=69&Itemid=51
เพิ่มคำอธิบายภาพ

เกาหลีใต้อ่วม เจอ "เทมบิน" ไต้ฝุ่นลูกใหม่ถล่มซ้ำ
เอเอฟพี - ไต้ฝุ่น "เทมบิน" พายุลูกใหม่พัดถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาหลีใต้แล้ว วันนี้ (30) พร้อมกระแสลมรุนแรง และฝนตกกระหน่ำ ขณะที่ประชาชนในประเทศเริ่มเก็บกวาดซากความเสียหายจากไต้ฝุ่นกำลังแรงลูก ก่อนหน้า

สำนักพยากรณ์อากาศรายงานว่า ไต้ฝุ่นเทมบิน ซึ่งมีความเร็วลมประมาณ 83 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซัดขึ้นฝั่งเมืองซุนชอน ทางตอนใต้ของประเทศ พร้อมกับพัดพาเอาฝนตกหนักประมาณ 150 มิลลิเมตรในหลายพื้นที่ของแดนโสมขาว

กระทรวงคมนาคมประกาศว่า เที่ยวบินทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ 173 เที่ยวบินต้องถูกยกเลิก โรงเรียนปิดการเรียนการสอน หรือลดชั่วโมงเรียนลง ตลอดจนปิดเส้นทางเรือข้ามฟากหลายสิบแห่งในพื้นที่ทางใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ด้วย

พายุเทมบินกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านหลายจังหวัด ทางใต้ของประเทศ ด้วยความเร็วลม 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะออกสู่ทะเลญี่ปุ่น ในคืนนี้

ในวันอังคาร (28) โบลาเวน ไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงที่สุดที่เคยถล่มเกาหลีใต้ในรอบเกือบ 10 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินในภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ตอนกลางของประเทศในสัปดาห์นี้ ก่อนที่พายุจะเคลื่อนผ่านไปสู่เกาหลีเหนือ

พายุโบลาเวนพัดถล่มเรือประมงจีน 2 ลำ บริเวณนอกชายฝั่งเกาะเชจู ทางตอนใต้ ในช่วงเช้าวันอังคาร (28) โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถช่วยผู้ประสบภัยขึ้นจากน้ำได้ 12 ราย ส่วน 6 รายว่ายกลับเข้าฝั่งเอง ขณะที่พบศพอีก 9 ศพ

ทั้งนี้ ตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยัน จากกรณีเรือประมงจีนนี้ และชาวเกาหลีใต้ในพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ รวมเป็น 19 ราย โดยยังมีลูกเรือจากเรือประมงทั้ง 2 ลำสูญหายอีก 6 คน

สำหรับปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายอีก 6 คนต้องถูกระงับไว้ชั่วคราว เนื่องจากไต้ฝุ่นเทมบินเคลื่อนตัวมาถึง แต่ไม่นานนัก เจ้าหน้าที่ก็ออกค้นหาอีกครั้งแม้คลื่นลมทะเลรุนแรง โดยมีทั้งนักประดาน้ำ 10 คน และเฮลิคอปเตอร์อีก 1 ลำ โฆษกยามชายฝั่งในเกาะเชจูเผย
                                                  บ้านสวนที่ทับลานเพื่อคืนป่าให้ทับลาน
                                   บ้านเลขที่64 ฃอย1 หมู่ที่1 ต.บุพราห์ม อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี 
ฟื้นฟูจากไร่ฟักเสื่อมโทรมที่มีแต่หญ้าคา แรกๆปลูกสวนไม้ผลก็ได้ผลแต่ไม่ได้ขายเพราะไม่มีคนดูแล หันมาปลูกป่าแบบค่อยๆทำและทำแบบไม่ลงทุน ไม่ตัดหญ้า ไม่มีปุ๋ย ทำแบบให้ธรรมชาติเลี้ยง(ดิน น้ำ ลม ไฟ)

ต้นสะตออายุ80ปีงามดีมาก แต่ไม่เคยให้ผล




ช่วย ปราจีนบุรี ด้วย!!!
-----------------------
เนื่องจากเขตอุตสาหกรรมเมโทรอินดัสเตรียลปาร์ค กำลังจะเข้ามาก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่โครงการ ๕,๐๐๐ ไร่ มีเขตติดต่อกับ ต.รอบเมือง ต.บางเดชะ ต.วัดโบสถ์ อ.เมืองปราจีนบุรี
พื้นที่ดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งมีข้อห้ามไม่ให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรม และกำลังอยู่ในขั้นตอนการออกกฎหมายเพื่อรองรับ แต่ปรากฏว่าทางภาคเอกชน
กำลังพยายามดำเนินการ ผ่านบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อโน้มน้าวให้ชาวปราจีนบุรีเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อให้สามารถก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว โดยในนิคมฯ จะประกอบด้วยอุตสาหกรรมการทำไม้เทียม ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร ฯลฯ

ภายในรัศมี ๕ กิโลเมตร จะส่งผลกระทบต่อชุมชนเกษตรกรรมที่อยู่โดยรอบ เช่น
- ลดพื้นที่รับน้ำหลาก (แก้มลิง) อันจะทำให้สภาพน้ำท่วมในแต่ละปี ยากลำบากขึ้น
- เนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องใช้น้ำจำนวนมากในการผลิต ย่อมส่งผลกระทบกับภาคเกษตรกรรม อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- ผลกระทบจากน้ำเสีย สารพิษ มลภาวะจากโรงงาน ที่อาจไหลลงปนเปื้อนลงสู่ไร่นา ห้วย หนอง คู คลอง จนกระทั่้งถึงแม่น้ำปราจีนบุรี และลงสู่ทะเลในที่สุด
- ปัญหาสังคมจากการอพยพเข้ามา ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับแรงงานเหล่านี้

ปราจีนบุรี นับเป็นจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ที่ยังมีธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมสูง ในปัจจุบัน

ในฐานะชาวปราจีนบุรี ใคร่ขอความสนับสนุนจากพี่น้องชาวไทยทุกท่าน ที่เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไว้ให้ลูกหลานไทยได้ชื่นชมกัน

ขอเชิญร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม "ปกป้องเขตอนุรักษ์ พิทักษ์ปราจีนบุรี"
https://www.facebook.com/groups/prachinburi/

"ใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก แต่นำมาซึ่งความสูญเสียของคนอื่น คนกรุงเทพฯ อยู่ในพื้นที่เล็กๆ แต่กลับใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนจำนวนมาก อีกทั้งการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากนี้ก็นำมาซึ่งความสูญเสียของคนอื่นๆ แต่หากเราช่วยกันลดประมาณการใช้ลง ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ หรือหันไปใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ก็อาจช่วยแก้ปัญหาความต้องการไฟฟ้าตรงนี้ได้ 
“อยากให้สังคมส่วนรวมตระหนักว่า เขาอาจมีส่วนทำให้คนอีกส่วนหนึ่งต้องสูญเสียอะไรไปบ้
าง” ; Quote of สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพอิสระ จากกลุ่ม Photo Journ

ผู้ผลิตผลงานในนิทรรศการ “ปกป้องแม่น้ำโขง หยุดเขื่อนไซยะบุรี” บอกเล่าประสบการณ์จากการลงเก็บภาพในพื้นที่เหนือเขื่อนใน สปป.ลาวว่า ชาวบ้านในพื้นที่โครงการฯ พูดไม่ได้ว่าไม่เอาเขื่อน แต่ที่พูดได้คือเขาอยู่ที่นั่นมาทั้งชีวิต เกิดที่นั่นก็อยากตายที่นั่น

อีกทั้งยังพบว่าพื้นที่ใหม่ที่พวกเขาจะต้องถูกย้ายไปนั้นเป็นที่แห้งแล้งไม่สามารถทำกินได้ ซึ่งคนที่เป็นผู้จัดสรรให้ไม่ใช่รัฐบาลลาวแต่เป็นบริษัท ช.การช่าง

ชาวบ้านไม่เคยเห็นเขื่อน และแม้พวกเขาจะรู้ว่า พวกเขาจะไม่ได้อะไรจากเขื่อน แต่พวกเขาก็ขัดรัฐบาลไม่ได้ และต้องสูญเสียโดยไม่มีสิทธิเรียกร้อง นั่นคือ “ความจำเป็นที่ไม่จำเป็น” สุเทพให้ข้อสรุปต่อสิ่งที่ชาวบ้านได้รับ 










ปี 2556 นี้เราน่าจะเจอภาวะ "แล้งหนัก" กว่าเดิมในหน้าแล้ง..เชียงของ -อุบลฯ เตรียมกันให้ดี หลังยักษ์ใหญ่จีน ประกาศเดินเครื่องปั่นไฟ "เขื่อนนูจาตู้" เขื่อนยักษ์ใหญ่ที่สุดในพื้นที่น้ำโขงตอนต้นในเขตจังหวัดยูนนานของประเทศจีน เขื่อนยักษ์ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเขื่อนในจีน มีความสูงถึง 261.5 เมตร เป็นเขื่อนที่มีความ "สูง" ที่สุดในเอเชีย และสูงที่สุดเป็นอันดับ "3" ของโลก..ผลิตไฟฟ้าได้ 5.85 กิกกะวัตต์ นับเป็นเขื่อนอันดับที่สี่บนตอนต้นน้ำโขง ทีมีการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า และกักน้ำไว้ตอนต้นน้ำ จนทำให้เกิดปัญหาแม่น้ำโขง แห้งจัดในปี 2551 ที่ผ่าน แม้จีนจะอ้างว่า แม่น้ำโขงตอนต้นแชร์ปริมาณน้ำต้นทุน เพียง 12 % ของปริมาณน้ำทั้งหมด แต่ปรากฎการณ์แล้งปี 51 ก็บอกชัดว่า เขื่อนจีนก็เป็นสาเหตุหนึ่ง นอกจากการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ก็ตาม ฤดูแล้งปีนี้....ก็คงเหมือนกัน โอ้ย...........จีนนี่ทำอะไรยิ่งใหญ่จริงๆๆ..ตอนเกิดผลกระทบ..ถึงต้องใช้คำว่า "หายนะ"



ที่มา: http://www.chinadaily.com.cn/business/2012-09/07/content_15742514.htm



 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ
1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น



วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

 
บทความเรื่อง : สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย

รายละเอียด :
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ 
1) มนุษย์ 
2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ ความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
สหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth Resources Technology Satellite หรือ ERTS) ดวงแรกของโลกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ดาวเทียมนี้จะโคจรรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้รวม 14 รอบต่อวันและจะโคจรกลับมาจุดเดิมอีกทุก ๆ 18 วัน ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีทั้งรูปภาพและเทปสมองกลบันทึกไว้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของโลก ส่วนประเทศไทยก็ได้รับข้อมูล และภาพที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การสำรวจทางธรณีวิทยา ป่าไม้ การชลประทาน การประมง หลังจากที่สหรัฐส่งดาวเทียมดวงแรกได้ 1 ปีแล้ว ได้ส่งสกายแล็บ และดาวเทียมตามโครงการดังกล่าวอีก 2 ดวง ในปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2522 นับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการวางโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดบนพื้นโลก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่าและปลา น้ำ ดิน อากาศ แร่ธาตุ มนุษย์และทุ่งหญ้า
ที่มา : http://www.school.net.th