วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555


ผลการวิจัยพบการละลายของธารน้ำแข๊งปล่อยก๊าซมีเทน



ผลการวิจัยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงค์ส พบว่า การละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) ทำให้ก๊าซมีเทนรั่ว นอกจากนี้การละลายของธารน้ำแข็งยังมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ผลการวิจัยชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในเว็บไซต์วารสารเนเจอร์ จีโอไซเอินซ (Nature Geoscience) นับได้ว่าเป็นการศึกษาวิจัยชิ้นแรกที่ยืนยันว่าการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัวทำให้ก๊าซมีเทนรั่ว ส่วนการละลายของธารน้ำแข็งมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ  นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกาแฟร์แบงค์ส กล่าวว่า การปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศกำลังกลายเป็นปัญหาเนื่องจากก๊าซชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ให้ผลแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยสามารถกักเก็บความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 20 เท่า การรั่วของแก๊สมีเทนมีที่มาจากหลายแหล่งอาทิ ชั้นถ่านหินและแก๊สธรรมชาติใต้ทะเลสาบทั้งนี้ก๊าซมีเทนนี้แตกต่างจากแก๊สมีเทนที่ปล่อยจากซากอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ใต้ทะเลสาบหลายแห่งในรัฐอะแลสกา วอลเตอร์ แอนโทนี
  นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงค์ส กล่าวว่า มันเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปปริมาณแก๊สมีเทนที่รั่วจากใต้ทะเลสาบ ทั้งนี้ นักวิจัยได้ยืนยันว่า ก๊าซมีเทนถูกปล่อยมาจาก 2 แหล่ง ในรัฐอะแลสกา โดยมาจากทะเลสาบ 50 แห่งทางตอนเหนือของรัฐ และตามขอบธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของรัฐ ส่วนที่กรีนแลนด์ นักวิทยาศาสตร์พบก๊าซมีเทนรั่วจากพื้นที่ที่แผ่นน้ำแข็งละลายลง กว่า 150 ปีที่ผ่านมาทะเลสาบแห่งแรกที่พบว่าก๊าซมีเทนมีผลต่อการเยือกแข็ง คือ ทะเลสาบที่อยู่ติดกับหมู่บ้านชนพื้นเมืองอินูอิต เมืองแอทตาซัคทางตอนเหนือของรัฐอะแลสกา โดยคนในท้องถิ่นทราบมานานแล้วว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณชั้นถ่านหิน
http://www.energysavingmedia.com/news

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น